วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน
ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้
        1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม(geneticdiversity)ได้แกjความหลากหลายขององค์ประกอบ
ทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายใน
สิ่งมีชีวิตชนเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันระดับความแตกต่างนี่เองที่ใช้กำหนดความใกล้ชิด
หรือความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดต่างกลุ่มหรือต่างอาณาจักรกัน
ตามลำดับ นักชีววิทยามีเทคนิคการวัดความหลากหลายทางพันธุกรรมหลายวิธี แต่ทุกวิธีอาศัยความแตกต่าง
ขององค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นดัชนีในการวัด หากสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
ย่อมแสดงว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม
       2.ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิด
ของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย
       3.ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity)ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat)
ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิด
มีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลายแต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะ
เฉพาะเจาะจงเท่านั้นความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัย
อยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง หากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือกและหมดหนทาง
ที่จะอยู่รอดเพื่อสืบทอดลูกหลานต่อไป.

การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพที่พบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ในช่วงระยะเวลากว่า3,000ล้านปีโดยในแต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นใหม่บ้างหรือสูญพันธุ์ไปบ้าง
บางส่วนก็ทิ้งร่องรอยแสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของสปีชีส์นั้น แต่ส่วนใหญ่มักสูญหายไป
โดยไม่ปรากฏร่องรอยเหลือไว้เลย อย่างไรก็ตามนักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินได้พยายามสร้างตารางเวลา เพื่อบันทึกลำดับเหตุการณ์กำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยใช้หลักฐาน
ของซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคำนวณอายุได้ ดังแสดงในตารางธรณีกาล (The geologic time scale)
.1 การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต       ลำดับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (biological classification)นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์หลายๆ เกณฑ์ต่างๆ ข้างต้นจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่ใหญ่และหมวดหมู่ย่อย คือ อาณาจักร (kingdom) ไฟลัม (phylum) และดิวิชัน (division)
ในกรณีที่เป็นพืช คลาส (class) ออร์เดอร์ (order) แฟมิลี (family) จีนัส (genus) และ สปีชีส์ (species) ตามลำดับ ดังตัวอย่าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ

คำว่าความหลากหลายทางชีวภาพมาจาก biodiversity หรือ biological diversity
ความหลากหลาย (diversity) หมายถึงมีมากและแตกต่างกัน
ทางชีวภาพ ( biological ) หมายถึง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด
นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมาย
และแตกต่างกันทั่วโลก หรือพูดง่ายๆคือการที่มีชนิดพันธุ์ สายพันธุ์
และระบบนิเวศน์ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
โดยสรุป ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง ธรรมชาติที่
เป็นสิ่งมีชีวิต หากพูดว่า “ รักธรรมชาติ ” ในความเป็นจริงคือ
รักความหลากหลายทางชีวภาพนั่นเอง
ความหลากหลายทางชีวภาพ สำคัญอย่างไร
ความหลากหลายทางชีวภาพมีอยู่ระหว่างสายพันธุ์
ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ตัวอย่างความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ระหว่างสายพันธุ์ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ
ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร
ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้เราสามารถเลือกบริโภค
ข้าวจ้าว หรือข้าวเหนียว ตามที่เราต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลาย
ของสายพันธุ์ต่างๆแล้ว เราอาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็ม
กับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้
เกษตรกรเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ และสัตว์ปีก เพื่อให้เหมาะสม
ตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก
วัวพันธุ์นม วัวพันธุ์เนื้อ ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธ ุ์เราสามารถ
พบเห็นได้โดยทั่วไป ถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ
นกกระจอก ฯลฯ หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง
กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี วัวแดง ฯลฯ
พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย
แต่ว่ามนุษย์เราได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด
จากพืชที่มีท่อลำเลียง ( vascular plant ) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง
320,000 ชนิด ทั้งๆที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้
สามารถนำมาใช้บริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอา
สัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
ทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด ( UNEP 1995 )
ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ เป็นความหลากหลายทางชีวภาพ
ซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศ
ประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาป บึง หนอง
ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่ง ชุมชนเมืองของเราเอง
ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัย
แตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลก
มีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละแบบ
ให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้
“บริการทางสิ่งแวดล้อม ” (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น
ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน
ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทับถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน
ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย
เรารู้จักความหลากหลายทางชีวภาพดีแค่ไหน
มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์องค์ประกอบ ของความหลากหลายทางชีวภาพ
มาเป็นเวลานานนับล้านปี พูดง่ายๆคือ ทรัพยากรชีวภาพไม่ว่าจะเป็น
สายพันธุ์หรือชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต หรือระบบนิเวศได้ถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่
บรรพบุรุษรุ่นแรกๆของมนุษย์ ตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก
นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า ยังมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น นักอนุกรมวิธาน สามารถจำแนกชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ได้รวมทั้งสิ้น 1.75 ล้านชนิด ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 8 ของจำนวนสิ่งมีชีวิต
ที่มีอยู่จริงทั้งหมดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีประมาณ 13-14
ล้านชนิด สิ่งมีชีวิตที่นักวิทยาศาสตร์ทราบและจำแนกชนิดแล้วส่วนใหญ่คือ
สัตว์มีกระดูกสันหลัง และพืชชั้นสูงต่างๆ
นักอนุกรมวิธานสามารถจำแนกชนิดพันธุ์แมลงได้ประมาณ 750,000 ชนิด
ซึ่งเป็นเพียง 1 ใน 10 ของชนิดพันธุ์แมลง ที่คาดว่ามีอยู่ทั้งหมดในโลก
ซึ่งมีประมาณ 7.5 ล้านชนิด ( UNEP 1995 )
แม้ว่าเรามีความรู้อันแสนจำกัดเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างๆ
แม้ว่าเรายังขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงคุณค่าของความหลากหลายฯ
แต่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในโลกนี้ กำลังเกิดขึ้น
อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยไม่รอให้เราได้ศึกษาอย่างครบถ้วน
เกิดอะไรขึ้นกับความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตในโลกสูญพันธุ์มากกว่า 30,000 ชนิดต่อปี
ซึ่งคิดเป็นอัตราเร็วกว่าการสูญพันธุ์ในยุคก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นมา
120,000 เท่า ซึ่งในยุคนั้นอัตราการสูญพันธุ์เป็นไปตามธรรมชาติ
คือ 1 ชนิด ในระยะเวลา 4 ปี ( Myers 1993 ) แม้ว่าการสูญพันธุ์
จะเป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่การสูญพันธุ์ด้วยอัตราเร่งอย่างที่เป็นอยู่
ในปัจจุบัน เป็นปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่า
โลกกำลังเผชิญหน้ากับความหายนะ ที่กำลังคืบคลานสู่ทุกชีวิตบนพื้นพิภพ
หากขาดความพยายามที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพไว้แล้ว
โลกจะสูญเสียร้อยละ 20 ของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบันภายใน
30 ปีข้างหน้า และสูญเสียร้อยละ 50 ของชนิดพันธุ์ ภายในศตวรรษที่ 21
( UNEP 1995 )
ประเทศไทยได้ทำให้สมัน Cervus schomburgki สูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 เพระถูกล่าอย่างหนัก และถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งได้แก่
บริเวณที่ราบต่ำบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถูกทำลาย (จารุจินต์
นภีตะภัฎ 2536) นกช้อนหอยใหญ่ (Pseudibis gigantean)
และนกพงหญ้า (Graminicola bengalensis) ได้สูญพันธุ์
ไปจากประเทศไทยแล้ว คูปรี (Bos sauveli) ซึ่งเคยอาศัย
อยู่ในป่าโปร่งที่มีทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง แถบเทือกเขาพนมดงรัก
(วท. 2533) ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ในโลกนี้ยังอาจพบคูปรีได้
ในป่าของประเทศลาว และกัมพูชาเท่านั้น
เท่าที่นักอนุกรมวิธานทราบ ประเทศไทยได้สูญเสียปลาน้ำจืดอีก 5 ชนิดคือ
ปลาหางไหม้ Balantiocheilus melanopterus
ปลาหวีเกศ Platytropius siamensis ปลาโจก หรือปลาใส้ตัน
Cyclocheilichthys lagleri และปลาอีก 2 ชนิดที่สูญพันธุ์ไป
ก่อนที่นักอนุกรมวิธานจะมีโอกาสตั้งชื่อภาษาไทยเสียอีก
คือ Longiculture caihi และ Oxygaster williaminae ( สผ. 2539 ก )
เป็นที่น่าวิตกว่าช้างป่า Elephas maximus ควายป่า Bubalus bubalis
เสือโคร่ง Panthera tigris และพะยูน Dugong dugon จะสูญพันธุ์
ไปจากประเทศไทยในไม่ช้า เพราะว่าประชากรช้างป่าในธรรมชาติลดลง
เหลือเพียง 1,975 ตัว ควายป่าเหลือ 50-70 ตัว เสือโคร่งเหลือ
250-500 ตัวเท่นั้น ส่วนพะยูน พบฝูงสุดท้ายในประเทศไทยที่หาดเจ้าไหม
และเกาะตะลิบง จังหวัดตรังเท่านั้น (สผ. 2539ก)
ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ต่างก็ทำให้ระบบนิเวศน์
ทางธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แนวปะการัง ป่าไม้ ภูเขา
เกาะ แก่ง สิ้นสลาย และหลายชนิดพันธุ์สูญพันธุ์ไปเช่นกัน
ป่าชายเลนในประเทศฟิลิปปินส์เหลืออยู่เพียง ร้อยละ 20 ของที่มีอยู่เดิม
ป่าในทวีปเอเชียจะมีเพียงพอให้ใช้ประโยชน์ไปได้อีก 40 ปีเท่านั้น
(จากประกาศของโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ
ในที่ประชุมคณะมนตรีประศาสน์การ เดือนมกราคม 2540)
อะไรอยู่เบื้องหลังการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป็นที่พิสูจน์ได้ว่า การสูญพันธุ์ของหลายชนิดพันธุ์ ในระยะเวลา 300-400
ปีที่ผ่านมา เป็นผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ นักวิจัยของ
สหรัฐอเมริกาพบว่า ในจำนวนชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไป
ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2043-2053 (ทศวรรษ 1500) ไม่น้อยกว่า
500 ชนิดนั้น มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สูญพันธุ์เองตามธรรมชาติ คือ
หอยทากน้ำเค็ม ที่เคยอยู่นอกอ่าวรัฐนิวอิงค์แลนด์ แรงกดดันให้เกิด
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั่งโลก มีพื้นฐานมาจาก
-รูปแบบการบริโภคและการผลิต
- การเติบโตของประชากร และการกระจายตัวของประชากร
- ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อเนื่องให้เกิดผลตามมาคือ
- การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
- การตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ป่า
- การนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- การเกษตรที่มุ่งเน้นการค้า
- มลภาวะ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก
ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกทำลายอย่างไร
การรบกวนและทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เป็นสาเหตุหลัก
ของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การทำลายระบบนิเวศ
เป็นต้นว่าการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายเลน
การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนพลังน้ำ การขยายตัวของชุมชนเมือง
การถมพื้นที่ชุ่มน้ำ การท่องเที่ยวและภาวะมลพิษ ล้วนส่งผลให้
ประชากรพืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ลดลงหรือสูญพันธุ์ไป
ป่าเขตร้อนเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตประมาณ
ร้อยละ 50 ของที่อยู่ทั้งหมดในโลก แต่ในปัจจุบันได้มีการทำลาย
ป่าเขตร้อน โดยรวมทั้งหมดถึงประมาณ 17 ล้านเฮกแตร์ต่อปี
ซึ่งเทียบได้กับพื้นที่ที่ใหญ่กว่าประเทศสวิสเซอร์แลนด์ถึง 4 เท่า
การทำลายป่าเขตร้อนในอัตราดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบ
ให้สิ่งมีชีวิตในป่าเขตร้อนร้อยละ 5-10 สูญพันธุ์ไปภายในเวลา
30 ปีข้างหน้า
ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีอัตราการลดลงของป่าไม้ สูงเป็นอันดับ
สองของทวีปเอเชีย คือ ร้อนละ 2.5 ต่อปี นอกจากนี้แหล่งที่อยู่อาศัย
ตามธรรมชาติของประเทศไทย มีเหลืออยู่เพียงร้อยละ 20
ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นลำดับที่ 18 ของทวีป
( Mackinnon 1994 ) นั่นหมายความว่า ประเทศไทยมีอัตราการ
ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราสูง ในขณะที่มีพื้นที่
ธรรมชาติเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การคุกคามระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
ในประเทศไทยยังคงมีบทบาทต่อเนื่องและรุนแรงตามกาลเวลา
ป่าพนมสารคามซึ่งเดิมเป็นป่าผืนใหญ่ ครอบคลุมภาคตะวันออก
ต่อเนื่องไปจนถึงกัมพูชา เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีพื้นที่ถึง 5 ล้านไร่
ปัจจุบันถูกบุกรุกแผ้วถาง ยึดครองทำการเกษตร และเป็นที่อยู่อาศัย
จึงเหลือพื้นที่ป่าเพียง 1 ใน 10 ของพื้นที่เดิม และถูกตัดขาด
ออกจากป่าในกัมพูชา ไม่เป็นผืนเดียวกันอีกต่อไป
พื้นที่คุ้มครองหลายแห่งได้ถูกบุกรุกทำลายมาเป็นเวลาหลายปี
ตัวอย่างเช่น อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ได้ถูกบุกรุกพื้นที่
ทางตอนใต้ของอุทยานในเขตจังหวัดยโสธรถึง 20,000 ไร่
ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2535 มาจนถึงทุกวันนี้ การบุกรุกพื้นที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
พร้อมไปกับการลักลอบตัดไม้ในเขตอุทยาน ที่มีอยู่เป็นประจำทุกวัน
เพื่อแปรรูปขายต่อให้พ่อค้าคนกลาง ในลักษณะบ้านทั้งหลัง
ในราคาหลังละ 3-4 หมื่นบาท (สผ. 2539 ข)
ความหลากหลายทางชีวภาพถูกใช้ประโยชน์อย่างไร
ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์มักคิดว่าทรัพยากรชีวภาพต่างๆ เช่น
ป่าไม้หรือสัตว์น้ำ เป็นทรัพยากรที่สามารถทดแทนด้วยตนเองได้
( renewable resources ) ดังนั้นจึงน่าจะเป็นทรัพยากร
ที่น่าจะใช้ได้โดยไม่มีวันหมด แต่หารู้ไม่ว่าหากใช้ทรัพยากรชีวภาพ
อย่างฟุ่มเฟือยและรวดเร็ว ทรัพยากรดังกล่าว ย่อมไม่สามารถฟื้นฟู
ตัวเองได้และหมดไปในที่สุด แต่ไหนแต่ไรมาการพัฒนาทางเศรฐกิจ
ไม่เคยคำนึงถึงค่าของทรัพยากรชีวภาพเลยแม้แต่น้อย
ราคาของไม้ดิบและไม้แปรรูปต่างๆ เป็นเพียงมูลค่าของค่าใช้จ่าย
ที่ผู้ประกอบการตัดไม้ใช้ในการโค่น ขนส่งแปรรูปไม้
ตลอดจนค่าภาคหลวง ที่จ่ายให้รัฐบาล ในการทำสัมปทาน
ป่าไม้เท่านั้น แต่ไม่ได้มีการคิดคำนวนคุณค่าของต้นไม้ ที่มีต่อ
ระบบนิเวศแต่อย่างใด ในหลายๆประเทศ
ป่าไม้จึงมีคุณค่าตามราคาของไม้เท่านั้น
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพอย่างไม่ยั่งยืน
ไม่ว่าจะเป็นการทำไม้ การประมงเกินศักยภาพการผลิต
ของธรรมชาติ การลักลอบล่าสัตว์ล้วนส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์
สายพันธุ์ ระบบนิเวศอื่นๆด้วย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
ในระบบนิเวศมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก
การตัดไม้เพียงไม่กี่ต้น อาจจะทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิด
สูญพันธุ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสัตว์หรือพืชชนิดนั้น
มีประชากรในธรรมชาติน้อยอยู่แล้ว และจำเป็นต้องอยู่อาศัย
ในแหล่งเฉพาะถิ่นเท่านั้น
การทำลายป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้ของประเทศ เพื่อตั้งรกรากถิ่นฐาน
และทำการเกษตร เป็นเหตุให้นกแต้วแล้วท้องดำ Pitta gurneyi
แทบจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ การเปลี่ยนแปลง หนอง บึง เป็นนาข้าว
เป็นที่อยู่อาศัย และการล่านก เป็นสาเหตุให้นกกระเรียน Grus antigone
หมดสิ้นไปจากประเทศไทย (วท. 2533) ปะการังจากท้องทะเลไทย
ถูกขุดมาขายเป็นสิ่งประดับสวน ประดับบ้าน จนประเทศไทย
เหลือแนวปะการังอยู่เพียงหนึ่งในสาม ของที่มีอยู่เดิมเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว
เราสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมในการเกษตรอย่างไร
หลายครั้ง เราได้ทำลายองค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การทุ่มกำลังนักวิชาการเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช
ทางการเกษตรในระยะ พ.ศ. 2493-2503 (ทศวรรษ 1950) หรือ
“การปฏิวัติเขียว ” (green revolution) ได้ทำให้มีการสร้างสายพันธุ์พืช
มากมายที่ให้ผลผลิตสูงแต่ใช้พื้นที่ในการปลูกเพียงเล็กน้อย
ซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้เพียงพอ
กับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่การส่งเสริมให้เกษตรกร นำเอาสายพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงนี้
มาเพาะปลูก ได้ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก ละทิ้งสายพันธุ์พืช
ทางการเกษตรดั้งเดิม จนกระทั่งสายพันธุ์พื้นเมืองสูญหายไป
เป็นจำนวนมาก
“ การปฏิวัติเขียว ” ได้ชักจูงให้เกษตรกรในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้กว่าร้อยละ 80 หันมาปลูกพืชสายพันธุ์ใหม ่แทนสายพันธุ์ดั้งเดิม
เกษตรกรในประเทศอินโดนิเซีย ได้ละทิ้งการปลูกพันธุ์ข้าวดั้งเดิม
และทำให้ข้าวกว่า 1,500 สายพันธุ์ สูญพันธุ์ไปในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา
สายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิมเป็นทรัพยากรทางพันธุกรรมที่มีคุณค่า
เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน
จนมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่
เพาะปลูกเช่น มีความต้านทานโรคสูง หรือต้องการธาตุอาหารน้อย
ซึ่งสามารถนำเอาไปพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น
เมื่อมีการระบาดของโรคโคนเน่าของข้าวขึ้นในระยะประมาณ
พ.ศ. 2523-2533 (ทศวรรษ 1980) นักวิทยาศาสตร์พบว่า
มีข้าวเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น จากข้าวทั้งหมดมากกว่า 10,000
สายพันธุ์ที่มีภูมิต้านทานโรคดังกล่าว ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวนี้
เป็นสายพันธุ์ข้าวดั้งเดิม
นอกจากนี้ การที่เกษตรกรเลิกปลูกสายพันธุ์เก่า และหันไปปลูกสายพันธุ์
ที่ให้ผลผลิตสูงเหมือนๆกันเกือบทั้งหมด ทำให้พืชที่ปลูก
มีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม ( genetically uniform )
หรือไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีความอ่อนแอทางพันธุกรรม
( genetic vulnerable ) สูง จึงมีโอกาสที่จะถูกทำลายโดยศัตรูพืช
และสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังที่เกิดขึ้นกับไร่มันฝรั่ง
ในประเทศไอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2389 ซึ่งทำให้ผู้คนอดอยาก
และเศรษฐกิจของประเทศพังทลาย จนประชาชนจำนวนมากต้องอพยพ
ไปสู่ทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย
จากเอกสารเผยแพร่
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
"ต้นไม้ทูยู" ขอสนับสนุนการลดโลกร้อน และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
โดยการสะสมพันธุ์ไม้ และการออกแบบจัดสวน

กำเนิดของชีวิต

 สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้มาอย่างไรนั้น ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์ท่านใดสามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน มีเพียงสมมุติฐานเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายท่านได้ตั้งสมมติฐานถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
ชนิด แรกบนโลก โดยเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดขึ้นเองได้จากสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งเป็น อิทธิพลของความเชื่อทางศาสนา
ต่อมาหลุยส์พาสเตอร์(LouisPasteur)ได้ทำการวิจัยและพิสูจน์ได้ว่าสิ่งมีชีวิตกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่า
สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลกถือกำเนิดมาได้อย่างไรในปี พ.ศ.2467 นักชีวเคมีชาวรัสเซีย เอ ไอ โอพาริน (A.L.Oparin) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดได้ขึ้นเองในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงขั้นตอนเดียว แต่ต้องใช้เวลานานมากโดยกระบวนการวิวัฒนาการทางเคมีอย่างช้าๆ เป็นการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากโมเลกุลง่ายๆ เป็นโมเลกุลที่ซับซ้อน แนวคิดกำเนิดของชีวิตบนพื้นผิวโลกของโอพารินมีขั้นตอนต่างๆดังนี้


จากแนวคิดของโอพารินนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่ากรดนิวคลิอิกชนิดแรกที่ เกิดขึ้นคือ RNAเนื่องจาก RNA ทำหน้าที่
ได้สองอย่างคือ เป็นสารพันธุกรรมและเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่างๆของกระบวนการเมแทบอลิซึม เมื่อ RNA มีวิวัฒนาการขึ้นมา
แล้วการสังเคราะห์ DNA จึงเกิดขึ้นภายหลัง นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าโครงสร้างของ DNA จึงประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย
พันกันเป็นเกลียวทำให้ DNAมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรงกว่า RNA ซึ่งเป็นพอลินิวคลีโอไทด์ 1 สาย นอกจากนี้ DNA ยังมีกลไกล
ในการแก้ไขหรือตรวจสอบความถูกต้อง ขณะที่มีการจำลอง DNA (DNA replication) ทำให้มีมิวเทชั่นน้อยกว่า RNAจึงมีโอกาส
อยู่รอดได้มากว่า ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาตินอกจากจะเกิดขึ้นในระดับของสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังเกิดขึ้นในระดับโมเลกุลด้วย
ในปี พ.ศ. 2496 สแตนเลย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดของโอพาริน โดยแสดงให้เห็นว่าสารประกอบ
อย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เข่น กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ชนิดอื่นรวมทั้งสารอินทรีย์ เช่น ยูเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ภายในชุดการทดลอง
ที่คาดว่าเป็นสภาวะของโลกในระยะเวลานั้น คือไม่มีออกซิเจน แต่มีแก๊สมีเทน แอมโมเนียม น้ำและแก๊สไฮโดรเจน โดยมี
แหล่งพลังงานจากไฟฟ้า ดังภาพที่20-9

นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่านที่ทำการทดลองคล้ายกับมิลเลอร์ โดยใช้สารตั้งต้นและพลังงานอย่างอื่น
เช่นสารกัมมันตรังสีรังสีอัลตร้าไวโอเลตพบว่าได้ผลเช่นเดียวกันและเกิดเบสพิวรีนและไพริมิดีนอีกด้วยเมื่อสารอินทรีย์
โมเลกุลใหญ่เกิดขึ้นได้ตามแนวคิดของโอพาริน แล้วสารอินทรีย์เหล้านี้จะประกอบเป็นเซลล์เริ่มแรกได้อย่างไร
ต่อมาซิดนีย์ ฟอกซ์ (Sidney Fox) นักชีวเคมีชาวอเมริกันและคณะได้แสดงให้เห็นว่า เซลล์เริ่มแรกเกิดจากกรดอะมิโน
ได้รับความร้อนและมีการรวมกลุ่มกัน ซึ่งมีคุณสมบัติหลายประการที่คล้ายกันกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น
การมีการเจริญเติบโต สามารถเพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อและมีกระบวนการเมแทบอลิซึมเกิดขึ้นเป็นต้น


ที่มาภาพ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
และเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 5 (หน้า169).พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2550

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรมอเนอรา

วิทเทเคอร์ (R.H. WHITAKER) จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรโมเนอรา อาณาจักรโปรติสตา อาณาจักรพืช อาณาฟังไจ และ อาณาจักรสัตว์
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
      - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
     - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
       1. ไฟลัมชิโซไมโคไฟตา (PHYLUM SCHIZOMYCOPHYTA) แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เซลล์ของแบคทีเรียมีผนังเซลล์ซึ่งเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน บางชนิดมีแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มอยู่ เพื่อป้องกันอันตรายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือรูปร่างกลม(COCCUS) รูปร่างเป็นท่อน(BACILLUS) และพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียว(SPIRILLUM)


ภาพ  ตัวอย่างแบคทีเรียงรูปร่างต่าง  ๆ

      2.     ไฟลัมไซยาโนไฟตา (PHYLUM CYANOPHYTA) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน(BLUE GREEN ALGAE) เช่น Oscillatoria Sp.,Spirulina Sp.,Anabaena Sp. เป็นต้น

ภาพ  สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

ไวรัส
       เป็น สิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาไม่มีคุณสมบัติประการอื่นของสิ่งมี ชีวิต นอกจากความสามารถในการสืบพันธุ์ด้วยการจำลองด้วยตัวเอง (DUPLICATION) ภายในเซลล์ของผู้ถูกอาศัย(HOST) ไวรัสประกอบด้วย DNA หรือ RNA และเปลือกหุ้มที่เป็นโปรตีนไวรัสบางชนิดอาจมีสารอื่น นอกเหนือจากนี้
ข้อควรจำ
โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆ

อาณาจักของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรโปรติสตา

อาณาจักรโปรติสตา (PROTISTA KINGDOM)
       โปรติสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูคาริโอติกเซลล์โดยอาจประกอบด้วยเซลล์เดียว หรือ หลายเซลล์ที่มิได้รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ สามารถทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนในเซลล์เดียว
       1. ไฟลัมโปรโตซัว (PHYLUMPROTOZOA) อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา


ภาพ  อะมีบา

ภาพ  พารามีเซียม

ภาพ  ยูกลีนา

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรพืช

อาณาจักรพืช (PLANT KINGDOM)
     พืชประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสมีคลอโรฟิลล์อยู่ในคลอโรพลาสต์สามารถสร้างอาหาร ได้เองโดยใช้พลังงานแสงสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชแบ่งออกเป็นดิวิชั่นต่างๆ ดังนี้
      1. DIVISION BRYOPHYTA พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง ได้แก่ มอส และ ลิเวอร์เวิร์ต

ภาพ  มอส

ภาพ  ลิเวอร์เวิร์ต

      2. DIVISION PSILOPHYTA หวายทะเล (PSILOTUM)

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรฟังใจ

อาณาจักรฟังใจ (KINGDOM FUNGI)
       เห็ด ราและยีสต์มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับพืชและโปรติสต์ ต่างกันตรงที่ไม่มีรงควัตถุเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนใหญ่จึงดำรงชีพ โดยเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเรียกว่า (HYPHA) ซึ่งเจริญมาจากสปอร์ กลุ่มของไฮฟา เรียกว่าไมซีเลียม(MYCELIUM) โดยมีไรซอยด์ช่วยยึด ไฮฟาติดกับแหล่งที่อยู่
ราแยกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้
       1. DIVISION ZYGOMYCOTA ราดำ(Rhizopus sp.)ที่ขึ้นบนขนมปัง


ภาพ  ราดำที่ขึ้นขนมปัง

      2. DIVISION ASCOMYCOTA ยีสต์ (Saccharocyces sp.) และราสีแดง(Monascus sp.)

ภาพ  ยีสต์

ภาพ  ราแดงที่เกาะอยู่บนต้นไม้

      3. DIVISION BASIDIOMYCOTA เห็ดชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม และราสนิม

ภาพ  เห็ดฟาง

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาราจักรสัตว์

อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA)

       สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และมีระยะตัวอ่อน (EMBRYO) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้
       1. ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ

ภาพ ฟองน้ำ

ภาพ ฟองน้ำ

      2. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) สัตว์ที่มีลำตัวกลวง ระบบประสาทเป็นแบบร่างแหประสาท(NERVE NET) ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา

ภาพ แมงกะพรุน
ที่มา : http://www.online-station.net/_news/2008/0304/15054_14.jpg
ภาพ ดอกไม้ทะเล

ภาพ ปะการัง

ภาพ กัลปังหา

ภาพ ไฮดรา

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สมาชิกในกลุ่ม

นางสาวปรางค์มณี  ฉิมมี เลขที่ 22 ม.6/1



นางสาว พรพรรณ  รัชนิพนธ์ เลขที่ 23 ม.6/1



               
                                             นางสาว เสาวลักษณ์  นิ่งราวี  เลขที่  25  ม.6/1


นางสาว  อรนุช หีดหอม  เลขที่ 27 ม.6/1



                                                  
               
                                           นางสาว รัตติกาล ม่งเก  เลขที่ 33  ม.6/1
                                                

แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ

1. ข้อความที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการมากที่สุดคือข้อใด?
ก. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีทิศทางที่ไม่แน่นอน
ข. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากแบบง่ายๆไปซับซ้อนขึ้น
ค. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมักมีโครงสร้างใหม่เกิดขึ้นเสมอ
ง. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สืบเนื่องกันตลอดเวลา

2. กรณีใดต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎี Natural selection ?
ก. จิ้งจกเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
ข. นกกะทาวางไข่จำนวนมากขึ้นเมื่อช่วงกลางวันยาวนานขึ้น
ค. มีพลาสโมเดียมสายพันธุ์ที่ต้านยารักษาโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น
ง. เชื้อเอดส์แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์

3. วิวัฒนาการตามแนวคิดของดาร์วินยึดหลักต่างๆยกเว้นหลักเกี่ยวกับข้อใด?
ก. หลักการเกี่ยวกับการแปรผันของสิ่งมีชีวิต
ข. หลักการเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ค. หลักการเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิต
ง. หลักการเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษไปลูกหลาน

4. หลักฐานหรือข้อมูลในข้อใดที่เหมาะสมที่สุดในการบ่งให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดมีสายวิวัฒนาการใกล้เคียงกันมากที่สุด ?
ก. หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุล
ข. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
ค. ข้อมูลสนับสนุนจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
ง. ข้อมูลสนับสนุนจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ

5. จากการสังเกตพบว่าผีเสื้อที่มีสีสันกลมกลืนกับสีของเปลือกไม้จะมีจำนวนมากกว่าผีเสื้อชนิดอื่นๆ ข้อสังเกตนี้จะใช้ข้อมูลใดมาอธิบายสนับสนุนได้เหมาะสมที่สุด?
ก. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
ข. สัญชาตญาณในการหลบหนีศัตรูของสิ่งมีชีวิต
ค. การถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ของลามาร์ก
ง. การผ่าเหล่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

6. หลักฐานในข้อใดสนับสนุนกฎการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก ?
ก. ผู้ชายไม่ต้องให้นมลูกจึงไม่มีต่อมน้ำนม
ข. กิ้งกือเดินเร็วกว่าตะขาบจึงมีขาจำนวนมากกว่า
ค. ค้างคาวรับฟังเสียงด้วยระบบโซนาร์จึงไม่มีใบหู
ง. คนที่ฝึกว่ายน้ำมาตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีไหล่กว้าง

7. สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่ไม่ได้อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ?
ก. รา
ข. เห็ด
ค. ยีสต์
ง. แบคทีเรีย

8. . ในการศึกษาวิวัฒนาการระดับโมเลกุล นักชีววิทยาศึกษาจากสิ่งใด ?
ก. จำนวนโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันสร้างได้
ข. จำนวนกรดอะมิโนในโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตสร้างได้
ค. จำนวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนชนิดเดียวกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง
ง. จำนวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนคนละชนิดกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง

9. ปัจจัยใดสำคัญที่สุดในการเกิดวิวัฒนาการของนกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งมีหลายสปีชีส์ต่างๆกัน?
ก. การเกิดภัยธรรมชาติ
ข. การอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล
ค. กลไกการแยกทางการสืบพันธุ์
ง. การแยกกันทางสภาพภูมิศาสตร์

10. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง?
ก. เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงมีวิวัฒนาการต่อไป
ข. ยีนที่กลายพันธุ์ส่วนมากเกิดขึ้นในทางที่ดีและมีประโยชน์
ค. การที่เชื้อมาเลเรียดื้อต่อยา อธิบายได้โดยกฏแห่งการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก
ง. จากหลักฐานชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยทำให้สรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากนอกโลก

11. นักวิทยาศาสตร์ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินต่างๆพบว่า ซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในหินชั้นบนมีโครงสร้างซับซ้อนกว่าและมีจำนวนชนิดมากกว่าในหินชั้นล่าง ข้อความด้านล่างต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อพิจารณาจากคำกล่าวข้างต้น?
ก. มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต
ข. สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
ค. ในอดีตมีการเกิดภัยพิบัติทำให้สิ่งมีชีวิตตายเป็นจำนวนมาก
ง. สิ่งมีชีวิตในหินชั้นบนมีวิวัฒนาการสูงกว่าสิ่งมีชีวิตในหินชั้นล่าง

12. ความหลากหลายทางชีวภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่าอะไร
ก. Biologi Disity
ข. Biologi Diversity
ค. Biological Disity
ง. Biological Diversity

13. ในการจัดจำแนกที่สมาชิกมีความใกล้ชิดกันมากที่สุด หรือ เป็นหน่วยเล็กสุดใน 4 ข้อต่อไปนี้
ก. คลาส(Class)
ข. วงศ์(Family)
ค. อันดับ(Order)
ง. ไฟลัม (Phylum)

14. สิ่งมีชีวิตในข้อใดอยู่ในทะเลทั้งหมด
ก. พวกหอย
ข. พวกฟองน้ำ
ค. พวกเอไคโนเดิร์ม
ง. พวกฟองน้ำและพวกเอไคโนเดิร์ม

15. บทบาทที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรฟังไจในสิ่งแวดล้อมคือ
ก. เป็นปรสิต
ข. เป็นผู้ ผลิต
ค. เป็นผู้ ย่อยสลาย
ง. เป็นผู้ บริโภครายแรก

16. ตะขาบและกิ้งกือแตกต่างกันในข้อใดชัดเจนที่สุด
ก. จำนวนปล้อง
ข. ลักษณะเป็นข้อๆ ของขา
ค. จำนวนขาในแต่ละปล้อง
ง. ความว่องไวในการเคลื่อนที่

17. สัตว์ในข้อใดมีมากที่สุดทั้งชนิดและจำนวน
ก. หอย
ข. ปลา
ค. แมลง
ง. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

18. การสังเกตพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเลี้ยงคู่ ข้อใดสังเกตได้ง่ายที่สุด
ก. จำนวนใบเลี้ยง
ข. ลักษณะเกสรตัวผู้
ค. ลักษณะทั้งหมดของดอก
ง. ลักษณะของเส้นใบและแผ่นใบ

19. ชื่อวิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในด้านใด
ก. ระบุบริเวณกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ข. สามารถบอกลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ค. ขจัดปัญหาการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตซ้ำๆ กันในแต่ละภาคของประเทศ
ง. เมื่อกล่าวถึงทุกชาติทุกภาษาเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใด

20. สิ่งมีชีวิตที่เป็น species เดียวกันจะต้อง
ก. มีลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน
ข. มีการผสมพันธ์แล้วให้ลูกได้
ค. มีลักษณะทางสรีรวิทยาเหมือนกัน
ง. มีลักษณะต่างๆ เหมือนกันทุกประการ

1. ง. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สืบเนื่องกันตลอดเวลา
2. ค. มีพลาสโมเดียมสายพันธุ์ที่ต้านยารักษาโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น
3. ค. หลักการเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิต
4. ก. หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุล
5. ก. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
6. ง. คนที่ฝึกว่ายน้ำมาตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีไหล่กว้าง
7. ง. แบคทีเรีย
8. ค. จำนวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนชนิดเดียวกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง
9. ง. การแยกกันทางสภาพภูมิศาสตร์
10. ก. เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงมีวิวัฒนาการต่อไป
11. ค. ในอดีตมีการเกิดภัยพิบัติทำให้สิ่งมีชีวิตตายเป็นจำนวนมาก
12. ง. Biological Diversity
13. ข. วงศ์(Family)
14. ค. พวกเอไคโนเดิร์ม
15. ค. เป็นผู้ ย่อยสลาย
16. ค. จำนวนขาในแต่ละปล้อง
17. ค. แมลง
18. ง. ลักษณะของเส้นใบและแผ่นใบ
19. ง. เมื่อกล่าวถึงทุกชาติทุกภาษาเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใด
20. ก. มีลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน